ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ เว็บไซต์

ความหมายของเว็บไซต์ และเว็บเพจ

เว็บไซต์
       เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์





โฮมเพจ
     โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ  ดังนั้นบางครั้งจึงมีผู้ใช้คำว่าโฮมเพจโดยหมายถึงเว็บไซท์ทั้งหมด  แต่ความจริงแล้วโฮมเพจหมายถึงหน้าแรกเท่านั้น  ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด


เว็บเพจ
     เว็บเพจ (Web Page) หมายถึง  หน้าเอกสารของบริการ  WWW  ซึ่งตามปกติจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language)  โดยไฟล์  HTML  1  ไฟล์ก็คือเว็บเพจ  1  หน้านั่นเอง  ภายในเว็บเพจอาจประกอบไปด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง วิดีโอ และภาพเคลื่อนไหวแบบมัลติมีเดีย  นอกจากนี้เว็บเพจแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยงหรือลิงค์” (Link)  กัน เพื่อให้ผู้ชมเรียกดูเอกสารหน้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้สะดวกอีกด้วย


ส่วนประกอบของเว็บไซต์

ส่วนหัว (Header)
สำหรับไว้แสดงโลโก้ หรือข้อความที่บ่งบอกว่า เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาอะไรบ้าง ในส่วนหัว อาจเป็นพื้นที่สำหรับใส่ป้ายโฆษณา สำหรับการหารายได้พิเศษ นอกจากนี้อาจมีคำนิยามของเว็บหรือสโลแกนต่อท้ายโลโก้ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ถ้ามี อาจทำให้คุ้นเคยได้ง่ายขึ้น
ส่วนท้าย (Footer)
สำหรับแสดงรายละเอียดพื้นฐาน เช่น ใส่คำพูด ส่วนลิขสิทธิ์ (copyright) หรือใส่ที่อยู่ในการติดต่อ)
เนื้อหา (Contents)
หมายถึง ข้อมูลที่เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมรับทราบเนื้อหาที่ดีควรมีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวกในการติดตามอ่านข้อมูลอื่นๆ เพ่ิมเติม ส่วนประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย
ข้อความที่เป็นตัวอักษร
รูปภาพ / ภาพเคลื่อนไหว
ไฟล์เสียง
วีดีโอ
เมนู (Navigator)
ไม่หลงผิดไปทิศทางอื่นๆ การมีเมนู ช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น การวางเมนู ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวา เป็นหลัก ส่วนหลายๆ เว็บในปัจจุบัน มีการเพิ่มเมนูในส่วนท้าย อาจเป็นเพราะเนื้อหามีความยาวเกินหนึ่งหน้า หรือเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาในส่วนอื่นๆ
ช่องว่าง (Space)

     ไม่จำเป็นที่เว็บไซต์หนึ่งๆ จะมีเนื้อหาแบบเต็มหน้าจนเกินไป การมีช่องว่างบ้าง เพื่อให้ได้ผ่อนคลายเวลาเข้าเว็บของเรา ไม่รู้สึกอึดอัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบด้วย

การแบ่งพื้นที่ของหน้าเว็บเพจ

  ทำได้หลายรูปแบบ

             แบ่งแบบอิสระ


   แบ่ง ส่วน


   แบ่ง ส่วน




ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet service provider: ISP) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต[1] โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น

ประโยชน์ของเว็ปไซต์
• เป็นการเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าและบริการของบริษัทอีกช่องทางหนึ่ง
• คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง สำหรับการที่จะมีเว็บไซต์เพื่อติดต่อกับโลกภายนอก
• มีหน้าร้าน (Homepage) ร้านค้าของตนเอง เป็นการเปิดตัวสู่ตลาดโลก
• เสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้มีความทันสมัยน่าเชื่อถือมากขึ้น
• มีอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า เพื่อความเป็นสากล เช่น  youremail@gmail.com
• สามารถซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการของท่านผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
• โฆษณาบริษัทฯ หรือองค์กรให้เป็นที่รู้จักทั้งในจังหวัด ต่างจังหวัดและต่างประเทศ
• เป็นอีกช่องทางในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ของบริษัท
• ยกระดับมาตรฐานการซื้อขายภายในประเทศ
• เสริมสร้างธุรกิจให้แข็งแรงด้วยประโยชน์ของ Internet

ขอขอบคุณแหล่งที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/tech04/25/chapter_3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น